สัจพจน์ของกลศาสตร์ควอนตัม (Axioms of Quantum Mechanics)
สุวิทย์ กิระวิทยา
13 กุมภาพันธ์ 2561
สัจพจน์ของกลศาสตร์ควอนตัมจะแสดงเป็นข้อความสั้น
ๆ เพียงไม่กี่ข้อ (4 ข้อในที่นี้) ที่ใช้เป็นเสมือนกฎในการศึกษาทำความเข้าใจการอธิบายปรากฎการณ์ต่าง
ๆ ที่สังเกตและวัดได้จริงด้วยกลศาสตร์ควอนตัม
โดยก่อนที่จะกล่าวถึงสัจพจน์เหล่านี้
เราจะต้องกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางฟิสิกส์และรูปแบบวัตถุทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้อธิบายเสียก่อน
โดยสำหรับกลศาสตร์ควอนตัมนั้น เราใช้ความรู้เรื่องเวกเตอร์ปริภูมิ
(ในพีชคณิตเชิงเส้น) เป็นพื้นฐาน โดยมีข้อกำหนดคือ
1.
สถานะของระบบทางกายภาพจะแสดงได้ด้วยเวกเตอร์สถานะในปริภูมิฮิลเบิร์ท H (Hilbert
space) ซึ่งหมายความว่าเวกเตอร์* |yñ และ l|yñ (โดยที่ l
¹ 0)
แทนสถานะเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วเราจะสมมติให้เวกเตอร์สถานะนี้ถูกนอร์มัลไรซ์แล้ว (áy
|yñ = 1 )
2.
ตัวแปรพลวัตที่สามารถตรวจวัดได้ในระบบทางกายภาพจะแสดงด้วย "ตัวดำเนินการที่สังเกตได้" (observable
operator) ในปริภูมิ H ซึ่งหมายความว่าตัวดำเนินการนี้มีคุณสมบัติเฮอร์มิเทียน
(Hermitian) โดยตัวดำเนินการนี้มีเวกเตอร์เจาะจงที่สามารถใช้เป็นเวกเตอร์ฐานในการเขียนเวกเตอร์ใด
ๆ ในปริภูมิ H ได้
* สำหรับในวิชากลศาสตร์ควอนตัมนี้
เราจะใช้สัญลักษณ์เค็ท (ket) |.ñ แทนเวกเตอร์
โดยเรียกการเขียนรูปแบบนี้ว่า สัญกรณ์บรา-เค็ทของดิแรก (Dirac bra-ket notation)
สัจพจน์ 4 ข้อ ของกลศาสตร์ควอนตัม
มีดังนี้
สัจพจน์ 1: ผลการวัดที่เกิดขึ้นได้ (จากการวัดปริมาณใด ๆ ที่ตรวจวัดได้ในระบบ)
จะเป็นได้เพียงค่าเจาะจงตัวหนึ่งของตัวดำเนินการที่สอดคล้องกับการวัดนั้น
โดยผลจากการกระทำการวัดนี้ทำให้ระบบเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะที่แสดงได้ด้วยเวกเตอร์เจาะจงที่สอดคล้องกับค่าเจาะจงที่วัดได้
สัจพจน์ 2: ถ้าหากเราทราบว่าระบบอยู่ในสถานะ |A'ñ แล้ว
ความน่าจะเป็นที่การวัด B จะให้ค่าเป็น B' คือ
P(A',B') = |áA'
| B'ñ|2 (1-1)
โดยถ้าหากว่า B เป็นการวัดที่มีความต่อเนื่อง
จะได้ว่า
|áA'
| B'ñ|2 dB' (1-2)
คือความน่าจะเป็นของการวัด
B จะให้ค่าอยู่ในช่วง
B' ถึง
B' + dB'
สัจพจน์ 3: ตัวดำเนินการ A และ B
จะสอดคล้องกับตัวแปรพลวัตแบบดั้งเดิม A และ B
ที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ไปกลับ (commutation relation)
[A, B] = AB BA
= iħ{A,
B}op (2)
โดย { , }op คือตัวดำเนินการที่สอดคล้องกับบราคเค็ทปัวซงแบบดั้งเดิม
(Poisson bracket) คือ
(3)
โดยที่ pi และ qi
คือพิกัดและโมเมนตัมของระบบ (ที่นิยามแบบดั้งเดิม กลศาสตร์คลาสสิก)
ซึ่งจากความสัมพันธ์คอมมูทเทชันนี้เราแสดงให้เห็นโดยง่ายได้ว่า
[qi,
qj] = [pi, pj] = 0 (4-1)
และ [qi, pi]
= iħ
dij 1 (4-2)
โดย dij คือโครเนคเกอร์เดลต้า (Kronecker delta) มีค่าเท่ากับหนึ่งเมื่อ i เท่ากับ
j
และเท่ากับศูนย์เมื่อ i และ j ไม่เท่ากัน
สัจพจน์ข้อ
3 นี้นำมาซึ่งการค้นพบที่สำคัญคือ ถ้าหากเรานิยามค่าคาดคะเน (expectation
value) ของสิ่งที่สังเกตได้ด้วย
áAñ
= á
y | A
| y
ñ (5)
และนิยามความไม่แน่นอน
(uncertainty) ด้วย
DA = á (A
- 1 áAñ)2 ñ1/2 (6)
เราจะสามารถแสดงให้เห็น (โดยใช้อสมการชวาส (Schwarz's inequality)) ได้ว่า
(DA2) (DB2) ³
-1/4á [A, B] ñ2 (7)
ซึ่งหากแทน A ด้วย
pi และ
B ด้วย
qj และใช้สมการ (4-2)
จะได้ความสัมพันธ์ความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg uncertainty) คือ
Dpi Dqj ³
(ħ/2) dij (8)
ถึงตรงนี้
เรากล่าวถึงเพียงแค่ความเชื่อมโยงกันระหว่างเวกเตอร์และสิ่งที่สังเกตได้ ณ
เวลาหนึ่ง สำหรับพลวัตของระบบนั้นเราสามารถจำลองได้หลายวิธี
ซึ่งแต่ละวิธีจะผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน โดยสำหรับสัจพจน์ข้อสุดท้ายนี้เราจะนำเสนอ
ภาพของชโรดิงเจอร์ (Schrödinger
picture) หรือเรียกว่า การนำเสนอแบบชโรดิงเจอร์ ซึ่งมีรูปแบบคือ
เวกเตอร์สถานะจะเป็นฟังก์ชันของเวลาและตัวดำเนินการที่สังเกตได้จะไม่ขึ้นกับเวลา
สัจพจน์ 4: กำหนดให้สถานะของระบบที่เวลา t0 คือ
|y0ñ
และสถานะของระบบที่เวลา t ใด ๆ คือ |yñ สถานะทั้งสองนี้จะสัมพันธ์กันด้วยการแปลงยูนิแทรี
(unitary
transformation) คือ
|yñ = U(t t0)
|y0ñ (9)
โดยที่
U(t t0) =
exp(-i/ħ H(t
t0)) (10)
และ H คือตัวดำเนินการฮามิลโทเนียน
(Hamiltonian operator) ซึ่งแทนพลังงานรวมของระบบ
หากกำหนดให้ t t0 = dt,
|yñ |y0ñ = d
|yñ และ
U(dt) =
exp(-i/ħ H dt)
= 1 i/ħ H dt (12)
จะได้ว่า
(13)
ซึ่งสมการนี้มีชื่อเรียกว่า
สมการชโรดิงเจอร์
แนวทางอธิบายพลวัตของระบบที่เทียบเท่ากับภาพของชโรดิงเจอร์
คือ ภาพของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg
picture) ซึ่งกำหนดให้ U = U(t t0) และพิจารณาการแปลงยูนิแทรีคือ
|yñH = U-1|yñS =
U-1 U |y0ñS =
|y0ñS (14)
และ AH(t) = Ut-1ASUt (15)
โดยตัวห้อย S และ
H บ่งบอกสถานะและตัวดำเนินการในภาพของชโรดิงเจอร์และไฮเซนเบิร์กตามลำดับ
ซึ่งในภาพของไฮเซนเบิร์กนี้ เวกเตอร์สถานะจะคงที่ในขณะที่ตัวดำเนินการ AH จะขึ้นกับเวลา
คือ
(16)
โดยการเขียนแสดงอนุพันธ์ของ
AH จะได้ว่า
(17)
ซึ่งสมการนี้มีชื่อเรียกว่า
สมการการเคลื่อนที่ของไฮเซนเบิร์กสำหรับตัวดำเนินการ AH โดยสมการการเคลื่อนที่นี้สามารถเทียบเคียงได้กับสมการการเคลื่อนที่แบบดั้งเดิมสำหรับตัวแปรพลวัตในรูปแบบบราคเค็ทปัวซง
คือ
(18)
โดยจากสมการ
(17) จะพบว่าตัวดำเนินการที่ไปกลับได้ (commute)
กับฮามิลโทเนียนจะแสดงการเคลื่อนที่แบบคงที่
เอกสารอ้างอิง
[1] E. G. Harris, A Pedestrain Approach to Quantum
Field Theory, John Wiley & Sons (1972)
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Mathematical_formulation_of_quantum_mechanics
End