มวลในศาสตร์ด้านสารกึ่งตัวนำ
(Mass in Semiconductor Sciences)
สุวิทย์ กิระวิทยา
19 กุมภาพันธ์ 2561
มวล (mass) เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของอนุภาคทุกชนิด ปัจจุบันหน่วยกิโลกรัม (kilogram,
kg) ถือเป็นหน่วยฐาน (base unit) หนึ่ง ซึ่งมีนิยามคือ
มวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากับมวลของแท่งโลหะต้นแบบทรงกระบอกที่ทำจากโลหะผสมแพลทตินัม-ไอริเดียม
ที่เก็บรักษาไว้ ณ International Bureau of Weight & Measures ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Saint-Cloud ประเทศฝรั่งเศล
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการพัฒนาสร้างหน่วยมูลฐานที่ชื่อว่า มวล
นี้มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุค กาลิเลโอ
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิง [1] [3]
ศาสตร์ด้านสารกึ่งตัวนำเป็นศาสตร์ที่มีการพัฒนาการมาอย่างยาวนาน
จนปัจจุบันศาสตร์ด้านนี้ถือเป็นศาสตร์ที่สำคัญแขนงหนึ่งในทางวิทยาศาสตร์
โดยความรู้จากศาสตร์ด้านนี้ สามารถนำไปใช้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มากมาย
ตั้งแต่เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
จนไปถึงเครื่องมือล้ำสมัยที่มีใช้เพียงในห้องปฏิบัติการบางแห่งในโลกนี้เท่านั้น
การทำความเข้าใจศาสตร์ด้านสารกึ่งตัวนำนั้น
เราจะต้องเริ่มจากความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกลศาสตร์ควนอตัม ซึ่งเป็นความรู้ที่มีการพัฒนามาในช่วงปี
ค.ศ. 1900-1927 โดยเนื่องจาก
การคำนวณที่ซับซ้อนที่พบได้ในการศึกษาทำความเข้าใจกลศาสตร์ควอนตัมของระบบอนุภาคจำนวนมาก
(many-body
system) ทำให้ศาสตร์ด้านสารกึ่งตัวนำนี้ มีการนิยาม มวลขึ้นใหม่ที่เรียกว่า
มวลประสิทธิผล (effective mass) ที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง โดยแทนที่จะใช้มวลจริงของอิเล็กตรอนที่อยู่ในสารกึ่งตัวนำ (me = 9.109´10-31 kg)
การใช้แนวคิดเรื่องมวลประสิทธิผลนี้ทำให้การคำนวณเกี่ยวกับอนุภาคในสารกึ่งตัวนำสามารถทำได้โดยใช้กฎทางฟิสิกส์เดียวกับการพิจารณาเสมือนว่าอนุภาคนั้นอยู่ในสุญญากาศ
เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น
ผมจะขอตัวอย่าง การพิจารณากฎการเคลื่อนที่ของนิวตันจากแรงทางไฟฟ้าFi จากจุดประจุ
i ต่างๆ
ที่กระทำกับอิเล็กตรอน (โดย ve คือ
ความเร็วของอิเล็กตรอน, qe คือประจุของอิเล็กตรอน
= 1.602´10-19
C และ Ei คือสนามไฟฟ้าจากจุดประจุ
i) คือ
(1)
ซึ่งหากเราไม่ใช้มวลประสิทธิผล
ระบบของแรงจากสนามไฟฟ้า Ei ที่กระทำกับอิเล็กตรอนนี้ก็จะมีความซับซ้อนมาก
เพราะเราจะต้องคิดถึงแรงที่อิเล็กตรอนของอะตอมต่าง ๆ
กระทำต่ออิเล็กตรอนตัวที่พิจารณา และยังคงต้องคำนึงถึงความเป็นอนุภาคที่แยกแยะไม่ได้
(indistinguishable) ของอิเล็กตรอนในระบบ แต่หากว่าเรายอมให้มวลมีค่าที่เปลี่ยนไปได้
คือกำหนดเสียใหม่ให้
(2)
โดย Fext และ
Eext คือแรงและสนามไฟฟ้าจากภายนอกที่มากระทำกับอิเล็กตรอนที่พิจารณา
เราสามารถซ่อนปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในค่ามวลประสิทธิผลนี้
ซึ่งสำหรับมวลประสิทธิผลที่กล่าวถึงในสมการ (2)
นี้คือมวลที่ใช้ในการคำนวณเกี่ยวกับ การขนส่ง (transport) ของอิเล็กตรอนในแถบพลังงานหนึ่ง
ๆ ซึ่งก็คือการเกิดกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสารกึ่งตัวนำนั่นเอง
สำหรับกระบวนการอื่น
ๆ เช่น การเกิดการรวมตัวกลับ (recombination) มวลประสิทธิผลที่พิจารณาก็จะมีค่าต่างออกไป
ขึ้นกับความหนาแน่นสถานะ (density of state) ของทั้งแถบพลังงานเริ่มต้นและแถบพลังงานสุดท้ายของการรวมตัว
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า
กระบวนการที่เกิดในสารกึ่งตัวนำจะเกี่ยวข้องกับแรงต่าง ๆ
ซึ่งเราสามารถมองระบบนี้ในรูปแบบของพลังงานที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน
โดยในศาสตร์ด้านสารกึ่งตัวนำนี้ เรามักจะพิจารณาพลังงานและโมเมนตัม
(หรือความถี่เชิงตำแหน่ง) ของอิเล็กตรอนที่มักจะเรียกว่า แผนภาพพลังงาน-โมเมนตัม (Energy-momentum
or E-k diagram) โดย โดย
และ h คือค่าคงที่ของพลังค์
มีค่าเท่ากับ 6.626´10-34 Js
โดยเราสามารถนิยามมวลประสิทธิผลที่สัมพันธ์กับแผนภาพแถบพลังงานนี้ไดโดย
[4]
(3)
ซึ่งสมการนี้สัมพันธ์กับกฎเกี่ยวกับพลังงานและกลศาสตร์ควอนตัมคือ
(4)
โดย EP คือพลังงานศักย์
(potential energy) และ คือพลังงานจลน์ (kinetic
energy) ของอนุภาคอิเล็กตรอนในสารกึ่งตัวนำนั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Mass
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Proposed_redefinition_of_SI_base_units#Kilogram
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Kilogram
[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Effective_mass_(solid-state_physics)