การคิดค้นและค้นพบที่สำคัญทางทัศนศาสตร์
(Important Milestones in Optics)
สุวิทย์ กิระวิทยา
19 กุมภาพันธ์ 2561
ปี ค.ศ. |
ชื่อ |
การคิดค้น/การค้นพบ |
140 A.D. |
คลาดิอุส
พโตเลมี (Claudius
Ptolemy) |
วัดมุมหักเหของแสงที่ผ่านตัวกลางอากาศ-น้ำ
ที่มุมตกกระทบต่าง ๆ |
965-1020 |
อัลฮาเซน Ibn-al-Haitham (Alhazen) |
ศึกษากระจกทรงกลมและกระจกพาราโบลิก
และทราบถึงปัญหาความคลาด (aberration) ทรงกลม
นอกจากนี้ยังศึกษาการขยายภาพด้วยเลนซ์ |
1608 |
ฮานส์
ลิปเปอร์เชย์ (Hans Lippershey) |
น่าจะเป็นบุคคลแรกที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนซ์ใกล้วัตถุลู่แสงเข้าและเลนซ์ใกล้ตาลู่แสงออก |
1609 |
กาลิเลโอ
กาลิเลอิ (Galileo
Galilei) |
ศึกษาการขัดเลนซ์และสร้างกล้างโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยาย
8-9 เท่า จากนั้นนิวตัน (Newton) ก็เกิดในปีที่กาลิเลโอเสียชีวิต
(1642) |
1621 |
วิลบอร์ด
สเนล (Willebroad Snell) |
ค้นพบกฎการหักเห (refraction) (กฎของสเนลล์) |
1637 |
เรเน
เดสการ์ต (René Descarte) |
คิดค้นแบบจำลองอนุภาคของแสง
(Corpuscular
model of light) |
1657 |
ปีแอร์
เดอ แฟแมต (Pierre de
Fermat) |
คิดค้นหลักการการใช้เวลาน้อยที่สุด
(least
time principle) ในการอธิบายการหักเห |
1665 |
ฟรานซิสโค
กริมาลดิ (Francisco Grimaldi) |
น่าจะเป็นบุคคลแรกที่สังเกตเห็นการเลี้ยวเบน
(diffraction) ของแสง หลังจากนั้น โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke)
ก็รายงานว่าสังเกตเห็นปรากฏการณ์นี้ด้วยเช่นกัน |
1666 |
ไอแซค
นิวตัน (Isaac Newton) |
ศึกษาการหักเหที่เป็นฟังก์ชันของสีของแสง |
1669 |
อีราสมูส
บาร์โทลินุส (Erasmus Bartholinus) |
ค้นพบการหักเหสองแนว
(birefringence) ในผลึกแคลไซท์ |
1672 |
ไอแซค
นิวตัน (Isaac Newton) |
บรรยายว่าแสงขาวประกอบด้วยสีทุกสีของสีของรุ้ง |
1676 |
โอลาฟ
โรเมอร์ (Olaf Roemer) |
วัดความเร็วแสงโดยศึกษาปรากฏการณ์สุริยุปราคาของดาวพฤหัสบดี |
1678 |
คริสเตียน
ฮอย์เกนส์ (Christiaan
Huygens) |
ใช้ทฤษฎีที่ว่าแสงเป็นคลื่นอธิบายปรากฏการณ์ต่าง
ๆ |
1704 |
ไอแซค
นิวตัน (Isaac Newton) |
ใช้ทฤษฎีที่ว่าแสงเป็นอนุภาคอธิบายการเกิดรุ้ง
ในหนังสือ OPTICKS |
1801 |
โทมัส
ยัง (Thomas Young) |
ทำการทดลองการแทรกสอดของแสงและสร้างหลักการทับซ้อน |
1816 |
ออกุสติน
เฟรสเนล (Augustin
Fresnel) |
สร้างทฤษฎีที่อธิบายการเลี้ยวเบนจากทฤษฎีคลื่นแสง |
1817 |
ไซมอน
ปัวซง (Siméon Poisson) |
คาดเดาการเกิดจุดสว่าง
(จุดปัวซง) จากการส่งแสงผ่านจานทึบ โดยใช้ทฤษฎีเลี้ยวเบน |
1818 |
เฟรสเนลและอาราโก (Fresnel and Arago) |
ทำการทดลองเพื่อสาธิตการมีอยู่ของจุดปัวซงและยืนยันทฤษฎีการเลี้ยวเบน |
1819 |
โจเซฟ
ฟรานโฮเฟอร์ (Joseph Fraunhofer) |
สาธิตการเกิดการเลี้ยวเบนโดยเกรตติ้งที่สร้างจากเส้นลวดที่ร้อยขนานกัน |
1823 |
โจเซฟ
ฟรานโฮเฟอร์ (Joseph Fraunhofer) |
ตีพิมพ์
ทฤษฏีการเลี้ยวเบนของเขา |
1832 |
ออกุสติน
เฟรสเนล (Augustin
Fresnel) |
สร้างนิพจน์ของสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่าน |
1864 |
เจมส์
แมกซ์เวลล์ (James Maxwell) |
คาดเดาการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า |
1881 |
อัลเบิร์ต
มิเชลซัน (Albert
Michelson) |
สร้างเครื่องแทรกสอด
(interferometer) ที่แสดงให้เห็นว่า มาตราฐานทางฟิสิกส์มิจำเป็นต้องขึ้นกับวัสดุ |
1887 |
เฮนริก
เฮิรตซ์ (Heinrich
Hertz) |
ค้นพบปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก |
1888 |
เฮนริก
เฮิรตซ์ (Heinrich
Hertz) |
สาธิตการสร้างและตรวจสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่าง
ๆ โดยพบว่าคลื่นนี้มีความเร็วแสง และยืนยันทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ |
1900 |
แมกซ์
พลังค์ (Max Planck) |
อธิบายการแผ่รังสีของวัตถุดำโดยใช้สมมติฐานว่าการสั่นมีพลังงานแบบไม่ต่อเนื่อง |
1905 |
อัลเบิร์ต
ไอสไตน์ (Albert
Einstein) |
เสนอแนวคิดว่าแสงมีความไม่ต่อเนื่อง
และอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก |
1923 |
อาร์เธอร์
คอมป์ตัน (Arthur Compton) |
แสดงปรากฏการณ์คอมป์ตันที่อธิบายด้วยการกำหนดให้โมเมนตัมของแสงคือ
h/l |
1926 |
กิลเบิร์ต
เลวิส (Gilbert Lewis) |
ใช้คำว่า
โฟตอน (photon) อธิบายก้อนพลังงานของแสง |
1928 |
พอล
ดีแรก (Paul Dirac) |
คิดค้นทฤษฎีควอนตัมของการแผ่รังสี
(quantum
theory of radiation) |
1947 |
เดนิส
กาบอร์ (Dannis Gabor) |
คิดค้นโฮโลแกรม
(hologram) |
1960 |
ทีโอดอร์
ไมแมน (Theodore Maiman) |
คิดค้นเลเซอร์ (laser) |
เอกสารอ้างอิง
[1] A. Ghatah,
Optics, 3rd ed., McGraw Hill, 2005.
[2] E. Hecht, Optics, 4th
ed., Pearson, 2014.
[3] https://www.wikipedia.org/
โดยการสืบค้นชื่อต่าง ๆ ที่กล่าวถึง